วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมการศึกษา


 
_______________________________________________________


จัดทำโดย
1. นางสาววีราภรณ์  ศรีเจริญ  รหัสนิสิต 54040094
2. นางสาวสุกัญญา  ดีพร้อม  รหัสนิสิต 54040096 
3. นางสาวรัญญา  บัวจำปา  รหัสนิสิต 54040610
4. นางสาวมนชิดา  หนูแก้ว  รหัสนิสิต 54040368
5. นางสาวอนุสรา  เย็นวัฒนา  รหัสนิสิต 54040776
นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาไทย
เสนอ
อาจารย์ดำรัส อ่อนเฉวียง 
__________________________________________________________________

คำนำ
            รายงานเรื่อง นวัตกรรมทางการศึกษาเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาทักษะการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเทคโนโลยี-สารสนเทศ (Content Analysis Skills for Information Technology Data) รหัสวิชา 400307 จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับความหมาย ประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูล ประเมินค่า วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นขั้นตอนการสร้างความรู้จากแหล่งสารสนเทศให้มีประสิทธิผลตรงตามจุดประสงค์ ภายในนอกจากจะบรรจุเนื้อหาที่สังเคราะห์ได้แล้ว ยังมีส่วนแสดงขั้นตอนให้เห็นเด่นชัดอีกด้วย
                คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้ศึกษาไม่มากก็น้อยและหากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
28 ก.พ. 2555
_________________________________________________________________



นวัตกรรมทางการศึกษา

1.ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมบูรณ์ สงวนญาติ: 2534)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น (กิดานันท์ มลิทอง : 2540)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา  (วรวิทย์ นิเทศศิลป์: 2551)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง แนวความคิดหรือวิธีการหรือเครื่องมือ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เคยนำมาใช้ในวงการการศึกษามาก่อน แต่ได้ถูกนำมาทดลองใช้เพื่อดูผลว่าได้ผลดีเพียงใด ถ้าได้ผลดีก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้รู้จักและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป  (คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา: 2539)
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา (สุคนธ์ สินธพานนท์: 2553)
นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (บุญเกื้อ ควรหาเวช: 2543)
สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา จึงหมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะเป็น ความคิด เทคนิค วิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนำสิ่งเก่ามาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา
                คุณลักษณของนวัตกรรมทางการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
1)            เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการศึกษาทั้งหมด เช่น วิธีการสอน หรือสี่อการสอนใหม่ๆ
2)            เป็นสิ่งที่เคยมีมาแล้วแต่มีการพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมและดีขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3)            รื้อฟื้นของเก่ามาใช้ใหม่
4)            เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาเก่าจากที่อื่นแต่เพิ่งนำมาใช้
5)            ผ่านการศึกษาค้นคว้าและยืนยันด้วยข้อมูลมหาศาล

3.ประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถจำแนกประเภทได้ 2 ประเภทดังนี้
1) นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์
นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างชัดเจนได้ง่ายยิ่งขึ้น    นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่ 
-          ชุดการเรียน/ ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน
-          แบบฝึกทักษะ/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
-          บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม
-          เกม
-          การ์ตูน
-          นิทาน
-          เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอน
-          สื่อประสม
-          สื่อหลายมิติ
ฯลฯ
2) นวัตกรรมประเภทแนวคิด/รูปแบบ/เทคนิค/วิธีการสอน
นวัต กรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆเพื่อพัฒนาการ ด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้   ทักษะ  กระบวนการ  เจตคติ  คุณธรรมจริยธรรมเป็นต้น ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก  ได้แก่
-          วิธีการสอนคิด
-          วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
-          CIPPA  MODEL
-          วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
-          วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
-          วิธีสอนแบบบูรณาการ
-          วิธีสอนโครงงาน
-          วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
-          Constructivism
-          การสอนแบบศูนย์การเรียน
-          การสอนแบบโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
-          การสอนเป็นคณะ
-          การสอนแบบจุลภาค
-          การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
-          โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน
ฯลฯ

4.ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาสามารถสรุปเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1)            ระบุปัญหา การพัฒนามักเริ่มจากการมีปัญหาและมองเห็นปัญหาก่อน
2)            พัฒนานวัตกรรม โดยการกำหนดจุดมุ่งหมาย ศึกษาค้นคว้าหาข้อจำกัดต่างๆ ข้อมูลและแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาให้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษานั้นๆขึ้นมาแล้ว ต้องผ่านการทดลองใช้และพิสูจน์ด้วยข้อมูลมหาศาลว่าใช้ได้จริงก่อน
3)             เผยแพร่นวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนากระบวนการศึกษาต่อไป 
      
5.ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้
1)            เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น 
-          ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่พบเช่น วิธีการสอนปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน วิธีการสอนที่น่าเบื่อทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจ
-          ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
-          ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหาไม่มีสื่อการสอนที่ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจได้ดีพอ
2)            เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ๆในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู-อาจารย์ ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู-อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
3)            เพื่อนำไปใช้ในการบริหารการศึกษา ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและมีประสิทธิภาพซึ่งสุดท้ายผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะนำไปผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นต่อไป
 _________________________________________________________________

        ขั้นตอนการสร้างความรู้จากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ


1. กำหนดประเด็น/หัวเรื่อง
          เรื่อง : นวัตกรรมทางการศึกษา

2. เขียนวัตถุประสงค์
                                       1) เพื่อศึกษาความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
                                                2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา
                                3)เพื่อศึกษาประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา
                                                4) เพื่อศึกษาขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
                                5)เพื่อศึกษาความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา

3. กำหนดขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
    ศึกษาประเด็นต่างๆดังนี้
-          ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
-          คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา
-          ประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา
-          ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
-          ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
4. กำหนดแหล่งและเกณฑ์การคัดเลือกข้อมูล
    vหนังสือ
เกณฑ์การคัดเลือกข้อมูล
1)            จากหลายเล่ม ผู้แต่งแตกต่างกัน
2)            มีความถี่ของข้อมูลในทางเดียวกันบ่อยครั้ง
3)            เป็นเหตุเป็นผล
4)            มีการรับรองจากสถาบันของรัฐ
5)            มีความชัดเจนของเนื้อหา เนื้อหาครอบคลุม
6)            ผู้เขียนมีความรู้ความชำนาญในเรื่องดังกล่าว
ฯลฯ
                ซึ่งหนังสือที่เลือกใช้ศึกษามีดังนี้
-          กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-          คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. (2539). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสอนดุสิต.
-          บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: SR Printing.
-          พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. กรุงเทพฯ. เอกสารอัดสำเนา.
-          วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.
-          สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
-          สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน... เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

    vเว็บไซต์
เกณฑ์การคัดเลือกข้อมูล
1)            มีจุดประสงค์ชัดเจน
2)            ข้อมูลตรวจสอบได้
3)            มีความทันสมัย
4)            เนื้อหาครอบคลุม
ฯลฯ
ซึ่งเว็บไซต์ที่เลือกเป็นแหล่งศึกษามีดังนี้
-          สมเดช  สีแสง และคณะ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. วันที่สืบค้น 6 มีนาคม 2555, เข้าถึงได้จากhttp://images.025897100.multiply.multiplycontent.com
-          จิราพร. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. วันที่สืบค้น 5 มีนาคม 2555, เข้าถึงได้จาก http://portal.in.th/jiraporn011/pages/4088
-          ราตรี. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. วันที่สืบค้น 5 มีนาคม 2555, เข้าถึงได้ http://portal.in.th/ratree/pages/lra

    v การสัมภาษณ์บุคคล
เกณฑ์การคัดเลือกข้อมูล
1)            มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี 
2)            ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
3)            มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
ฯลฯ
ซึ่งผู้ที่ถูกสัมภาษณ์คือ นคร ละลอกน้ำ. (2555, 6 มีนาคม). อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สัมภาษณ์.

5. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
      v คอมพิวเตอร์ สมุดบันทึก ปากกา กระดาษเปล่า 



6. วางแผนการเก็บข้อมูล

          ตารางแสดงการวางแผนเก็บข้อมูล


              7. วิเคราะห์ข้อมูล
      1.ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาสม โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมบูรณ์ สงวนญาติ: 2534)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น (กิดานันท์ มลิทอง : 2540)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา (วรวิทย์ นิเทศศิลป์: 2551)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง แนวความคิดหรือวิธีการหรือเครื่องมือ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เคยนำมาใช้ในวงการการศึกษามาก่อน แต่ได้ถูกนำมาทดลองใช้เพื่อดูผลว่าได้ผลดีเพียงใด ถ้าได้ผลดีก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้รู้จักและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป  (คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา: 2539)
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา (สุคนธ์ สินธพานนท์: 2553)
นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (บุญเกื้อ ควรหาเวช: 2543)
นวัตกรรมการศึกษา คือ ความคิดและการลงมือทำ การสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา เป็นวิธีการใหม่ที่เกิดขึ้นจากปัญหาที่ประสบ (นคร ละลอกน้ำ: สัมภาษณ์)

2.คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา                         
                       สุคนธ์ สินธพานนท์ (2553 : 8) กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา ควรมีคุณลักษณะซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
                1.เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งหมด เช่น วิธีการสอนใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
                2.เป็นสิ่งใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการสอนรูปแบบใหม่ แต่ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่ ตัวอย่างเช่น มีบัตรเนื้อหา บัตรความรู้ บัตรทดสอบ แต่มีการเพิ่มบัตรฝึกทักษะความคิด บัตรงานสำหรับผู้เรียน เป็นต้น
                3.เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากน้อยเพียงไร เช่น การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา
                4.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย เช่น แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น มีวนอุทยานอยู่ในท้องถิ่นนั้นแต่เนื่องจากมีอุปสรรคเกี่ยวกับการเดินทางจึงยังไม่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาต่างๆ
                5.เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัย สนับสนุนต่อมาได้นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่จัดว่าเป็นนวัตกรรมได้
                ในกรณีที่สิ่งนั้นได้นำมาใช้จนกลายเป็นสิ่งปกติของระบบงานนั้นก็ไม่จัดว่าเป็นนวัตกรรม เช่น การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของโรงเรียนเมฆวิทยา เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่ผู้บริหารสนใจและสนับสนุนให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งของโรงเรียน จึงไม่เรียกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่าเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป  

นคร ละลอกน้ำ (สัมภาษณ์) กล่าวว่า คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา คือ นวัตกรรมที่ผ่านวิธีระบบวิเคราะห์ออกมาแล้ว ทดลองและพัฒนาแล้วนำมาใช้ในวงกว้างแต่ยังไม่เป็นปกติวิสัยมีผลยืนยันว่าใช้ได้จริงแก้ปัญหาได้จริงสามารถยืนยันด้วยข้อมูลมหาศาล

ราตรี (2552) ได้กล่าวว่านวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะ ดังนี้
1)            เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
-          คิดหรือทำขึ้นใหม่
-          เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า
-          คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
-          เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี
-          สถานการณ์เอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2)            เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3)            นำมาใช้หรือปฏิบัติได้ดี
4)            มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน

จิราพร (2552) ได้กล่าวว่านวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะ ดังนี้
1)            เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2)            สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้น มาใหม่
3)            สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
4)            เป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการทดลอง

3.ประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา
พิชิต   ฤทธิ์จรูญ. (2550)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่านวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้
    1.  นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์
นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน  หรือทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น  นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่ 
-          ชุดการเรียน/ ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน
-          แบบฝึกทักษะ/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
-          บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม
-          เกม
-          การ์ตูน
-          นิทาน
-          เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอน
                ฯลฯ
    2. นวัตกรรมประเภทรูปแบบ/เทคนิค/วิธีการสอน
       นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆนักการ ศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความ รู้   ทักษะ  กระบวนการ  และเจตคติ  ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก  ได้แก่
-          วิธีการสอนคิด
-          วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
-          CIPPA  MODEL
-          วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
-          วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
-          วิธีสอนแบบบูรณาการ
-          วิธีสอนโครงงาน
-          วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
-          Constructivism
ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียน   ด้านจิตพิสัยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ สรุปว่าการพัฒนาจิตพิสัยในการเรียนการสอนที่จำเป็น  ได้แก่    ความมีวินัย   ความซื่อสัตย์   ความรับผิดชอบ   ความมีน้ำใจ   การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551) ได้กล่าวว่านวัตกรรมทางการศึกษาที่ควรรู้ ได้แก่
-          การสอนแบบใช้ชุดการสอน
-          การสอนแบบศูนย์การเรียน
-          การสอนแบบไม่แบ่งชั้น
-          การสอนแบบจัดโรงเรียนในโรงเรียน
-          โทรทัศน์เพื่อการศึกษา

คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. (2539) ได้ยกตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทยไว้ดังนี้
-                   บทเรียนสำเร็จรูป
-                   ชุดการสอน
-                   ศูนย์การเรียน
-                   การสอนเป็นคณะ
-                   การสอนแบบจุลภาค
-                   คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
-                   การใช้สื่อประสม
-                   การศึกษาเป็นรายบุคคล

สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534) ได้ยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่ใช้ในวงการศึกษา พอสังเขป ดังนี้
-                   การสอนแบบโปรแกรม
-                   การสอนแบบศูนย์การเรียน
-                   การสอนแบบโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
-                   การสอนเป็นคณะ
-                   การสอนแบบจุลภาค
-                   การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
-                   โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน

กิดานันท์ มลิทอง. (2540)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมในลักษณะ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการที่กำลังเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในวงการศึกษา ดังนี้
-          สื่อประสม
-          สื่อหลายมิติ
-          แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
-          ซีดี-รอม
-          ความเป็นจริงเสมือน
-          อินเทอร์เน็ต

4.ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
                                ทิศนา แขมมณี (2548 : 423) ได้ให้หลักการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาไว้พอสรุปได้ดังนี้
1)            การระบุปัญหา (Problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหานั้นให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
2)            การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Objective) เมื่อกำหนดปัญหาแล้วก็กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณสมบัติ หรือลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3)            การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (Constraints) ผู้พัฒนานวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนต้องศึกษาข้อมูลของปัญหาและข้อจำกัดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริง
4)            การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ผู้จัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจนำของเก่ามาปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นวัตกรรมทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่นอาจมีลักษณะเป็นแนวคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
5)            การทดลองใช้ (Experimentation) เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมทางการศึกษาแล้ว ต้องทดลองนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขผลการทดลองจะทำให้ได้ข้อมูลนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ถ้าหากมีการทดลองใช้นวัตกรรมหลายครั้งก็ย่อมมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น
6)            การเผยแพร่ (Dissemination) เมื่อมั่นใจนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพแล้วก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก

นคร ละลอกน้ำ (สัมภาษณ์) กล่าวว่า การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเริ่มต้นจากปัญหาที่พบในการสอนจึงรวบรวมปัญหาและสร้างนวัตกรรมขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาระบบการสอนใหม่ และทดลองใช้นวัตกรรมนำไปปรับปรุงและพัฒนาจนสามารถแก้ไขปัญหาที่พบได้จริง
               
                5.ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นคร ละลอกน้ำ (สัมภาษณ์) ได้กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษาทำให้การเรียนรู้ของมนุษย์และระบบการศึกษามีความเท่า เทียมกันลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพของการศึกษา ทำให้มีความง่าย สะดวก และรวดเร็ว เป็นตัวช่วยของครูและผู้บริหารในการบริหารจัดการศึกษาและยังช่วยให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย

สมเดช  สีแดง และคณะ (2543) กล่าวว่า ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1)            เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น 
-          ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
-          ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
-          ปัญหา เรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็น ต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน   และผลิตสื่อการสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2)            เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ๆในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู-อาจารย์ ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู-อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

8. สังเคราะห์ข้อมูล
1.ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะเป็น ความคิด เทคนิค วิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนำสิ่งเก่ามาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมโดยผ่านวิธีระบบ เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา
1)            เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการศึกษาทั้งหมด เช่น วิธีการสอน หรือสี่อการสอนใหม่ๆ
2)            เป็นสิ่งที่เคยมีมาแล้วแต่มีการพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมและดีขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3)            รื้อฟื้นของเก่ามาใช้ใหม่
4)            เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาเก่าจากที่อื่นแต่เพิ่งนำมาใช้
5)            ผ่านการศึกษาค้นคว้าและยืนยันด้วยข้อมูลมหาศาล

3.ประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถจำแนกประเภทได้ 2 ประเภทดังนี้
    1) นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์
     นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างชัดเจนได้ง่ายยิ่งขึ้น    นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่ 
-          ชุดการเรียน/ ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน
-          แบบฝึกทักษะ/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
-          บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม
-          เกม
-          การ์ตูน
-          นิทาน
-          เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอน
-          สื่อประสม
-          สื่อหลายมิติ
ฯลฯ
    2) นวัตกรรมประเภทแนวคิด/รูปแบบ/เทคนิค/วิธีการสอน
       นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆเพื่อ พัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้   ทักษะ  กระบวนการ  เจตคติ  คุณธรรมจริยธรรมเป็นต้น ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก  ได้แก่
-          วิธีการสอนคิด
-          วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
-          CIPPA  MODEL
-          วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
-          วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
-          วิธีสอนแบบบูรณาการ
-          วิธีสอนโครงงาน
-          วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
-          Constructivism
-          การสอนแบบศูนย์การเรียน
-          การสอนแบบโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
-          การสอนเป็นคณะ
-          การสอนแบบจุลภาค
-          การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
-          โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน
ฯลฯ

4.ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาสามารถสรุปเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1)            ระบุปัญหา การพัฒนามักเริ่มจากการมีปัญหาและมองเห็นปัญหาก่อน
2)            พัฒนานวัตกรรม โดยการกำหนดจุดมุ่งหมาย ศึกษาค้นคว้าหาข้อจำกัดต่างๆ ข้อมูลและแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาให้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษานั้นๆขึ้นมาแล้ว ต้องผ่านการทดลองใช้และพิสูจน์ด้วยข้อมูลมหาศาลว่าใช้ได้จริงก่อน
3)             เผยแพร่นวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนากระบวนการศึกษาต่อไป
        
5.ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
                นวัตกรรมทางการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้
1)            เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น 
-          ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่พบเช่น วิธีการสอนปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน วิธีการสอนที่น่าเบื่อทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจ
-          ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
-          ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหาไม่มีสื่อการสอนที่ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจได้ดีพอ
2)            เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ๆในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู-อาจารย์ ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู-อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
3)            เพื่อนำไปใช้ในการบริหารการศึกษา ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งสุดท้ายผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะนำไปผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นต่อไป

9. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากเรื่องที่ศึกษา
  v จากผู้ถูกสัมภาษณ์
นคร ละลอกน้ำ (สัมภาษณ์) กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษามากมายแต่นวัตกรรมยังขาดกระบวนการในการเผยแพร่ เช่น โทรทัศน์ครู เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
ในอนาคตจะมีนวัตกรรมทางการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย เพราะง่าย สะดวกและรวดเร็ว การศึกษาผ่านทางSocial Network เช่น การสั่งงาน, การส่งงาน เป็นต้น
  v จากคณะผู้จัดทำ
                - ในการเลือกใช้นวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนควรพิจารณาความเหมาะสมกับ วัย ระดับการ  
              ศึกษา ความพร้อมของผู้เรียน เนื้อหา ระยะเวลา เป็นต้น

10. ปัญหา อุปสรรคของการทำงานชิ้นนี้
  v ระยะเวลาในการศึกษาไม่เพียงพอ

11. รวบรวม/เขียนรายงานสรุปเพื่อเผยแพร่
  v ทำเป็นรูปเล่มรายงานและ PowerPoint เพื่อช่วยในการนำเสนอ



_________________________________________________________________________


บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. (2539). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสอนดุสิต.
จิราพร. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. วันที่สืบค้น 5 มีนาคม 2555, เข้าถึงได้จาก http://portal.in.th/jiraporn011/pages/4088
นคร ละลอกน้ำ. (2555, 6 มีนาคม). อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สัมภาษณ์.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: SR Printing.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. กรุงเทพฯ. เอกสารอัดสำเนา.
ราตรี. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. วันที่สืบค้น 5 มีนาคม 2555, เข้าถึงได้จาก http://portal.in.th/ratree/pages/lra
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.
สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
สมเดช  สีแสง และคณะ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. วันที่สืบค้น 6 มีนาคม 2555, เข้าถึงได้จาก http://images.025897100.multiply.multiplycontent.com
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน... เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.